MTB SHOWROOM : สาระดีๆเพื่อคนรักการปั่น จักรยาน

ขาสวยเพรียว ด้วยการปั่นจักรยาน

(1) พบว่าผู้ชาย หรือผู้หญิงที่ปั่นจักรยานเป็นประจำหรือใช้จักรยานบ่อยๆ แล้วมีลักษณะน่องขาที่ใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่นั้น ส่วนใหญ่เล่นกีฬาอื่นรวมด้วยเสมอ ขณะที่ผู้ที่เล่นจักรยานอย่างเดียวเป็นหลัก กลับมีขนาดน่องเป็นปกติ เพียงแต่แข็งแกร่งกว่าผู้ที่ได้ออกกำลังกายเลย

(2) ในกลุ่มที่เล่นหรือใช้จักรยานเป็นหลัก ผู้ที่ตั้งความสูงของเบาะต่ำกว่ามาตรฐานจนเห็นได้ชัด มีแนวโน้มของขนาดน่องค่อนไปทางใหญ่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

(3) กลุ่มที่ใช้เกียร์หนักๆในการปั่นเป็นประจำ โดยเฉพาะนักปั่นชายมีขนาดน่องที่โตกว่าพวกที่ปั่นโดยการใช้รอบขาๆสูงและใช้เกียร์ต่ำกว่า เช่นเดียวกับกลุ่มแม่บ้านที่ใช้จักรยานปั่นไปจ่ายตลาดซึ่งจักรยานที่ใช้นั้นค่อนข้างหนักแรงขามาก แถมยังตั้งเบาะเตี้ยมากด้วย ก็เห็นได้ชัดว่าน่องโตกันทั้งนั้น (4) โดยส่วนใหญ่ นักจักรยานอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นจักรยานเสือหมอบ หรือเสือภูเขา จะสวยเพรียวกันทุกคน และมีการทำรายงานโดยใช้แบบสอบถามในหัวข้อว่า นักกีฬาประเภทไหน มีขาสวยที่สุด พบว่าทำกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง นักจักรยานก็กวาดแชมป์น่องสวยไปเสียทุกที สาวๆเอาไปใช้ได้ จะได้น่องไม่โต ลองดูกันนะ

และขอเสริมหน่อยนะครับ

ถ้าอยากปั่นแล้วขาไม่โต ก็ทำได้ครับ

1. เซทรถให้ถูกต้อง อานต้องสูงพอ การปั่นอานต่ำทำให้น่องโป่งขึ้นแน่นอน

2. อย่าย่ำบันได ให้ปั่นในลักษณะควงบันได

3. อย่าเล่นเกียร์หนัก พูดๆง่ายคือให้ปั่นด้วยเกียร์เบาๆ ไปเรื่อยๆ แต่ไม่หยุด แค่นี้ก็ได้ออกกำลังกายชนิดaerobic แล้วครับ ปั่นสักวันละ 30 -40 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง แค่นี้ก็สุขภาพดีขึ้นแล้วครับ( ระดับความเหนื่อย ก็ แค่ยังสามารถพูดคุยกันได้ ปั่นไปคุยไป ปั่นไปร้องเพลงไป แค่นี้แหละครับ พอแล้วสำหรับผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย )

4. อย่าบ้าพลังปั่นสปีดตามเจ้าบอม โดยเด็ดขาด

ขอให้ขาสวยกันทุกคนนะ

แนะนำเทคนิค การปั่น เสือภูเขามาฝากครับ

การปั่นจักรยานเสือภูเขาให้สนุกกว่าเดิม คือการปั่นขึ้นเนิน-ลงเนิน มีหลายคนไม่ชอบการปั่นจักรยานขึ้นเนินเขา ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จะช้าหรือเร็ว ก็จะต้องเจอกับเส้นทางที่ลาดสูงขึ้น จะเป็นแค่เนินเตี้ยๆ หรือสะพานก็แล้วแต่ การที่จะเอาชนะอุปสรรคดังกล่าวได้ ต้องใช้พละกำลังมากกว่าปั่นจักรยานบนพื้นราบ แล้ว ถ้าคุณต้องปั่นในทางวิบากที่ไม่ใช่ถนนทั่วๆ ไป คุณจะต้องใช้เทคนิคชั้นสูงอีกด้วย


ถนนทั่วๆ ไป หรือ ทางราดยาง หรือ ทางลำลองวิบาก ที่มีความชันไม่มากนัก ให้เปลี่ยนเกียร์ลดต่ำลงสัก 1-2 เกียร์ แล้วออกแรงถีบมากขึ้นกว่าเดิมอีกเล็กน้อย ก็สามารถปั่นขึ้นยอดเนินได้แล้ว แต่ถ้าเนินที่ไม่ชันนั้นมีความยาวขึ้น ก็ให้ชิฟเปลี่ยนเกียร์หลังลงมาทีละเกียร์ ไล่ลงมาเรื่อยๆ พยายามรักษารอบการปั่นให้สม่ำเสมอ ถ้ารู้สึกว่าเกียร์หนักไป ให้ชิฟเกียร์หลังต่ำลงมาอีก 1 เกียร์ อย่ารีบร้อนซอยเท้าปั่นเพื่อเร่งความเร็วขึ้นเนิน อย่ามองขึ้นไปบนยอดเนิน ให้ปั่นไปเรื่อยๆ ตามแรงที่คุณมี ถ้าปั่นไม่ไหว หมดแรง หรือ เริ่มทรงตัวไม่ได้ แก้ปัญหาด้วยการลงจูงจะดีกว่า แต่อย่าเพิ่งท้อถอดใจทันทีที่เห็นทางเริ่มลาดขึ้น ลองปั่นดูด้วยเทคนิคข้างต้น บางทีคุณอาจทึ่งในความสามารถของคุณก็ได้


เมื่อมีขึ้นก็ต้องมีลง เป็นเรื่องธรรมดา การปั่นจักรยานลงเขาเป็นที่โปรดปรานของนักปั่นเสือภูเขาโดยทั่วไป ถึงขนาดมีการแข่งขันปั่นจักรยานลงเขาหรือที่เรียกกันว่า “ดาวน์ฮิลล์” ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั้งใน และ ต่างประเทศ การปั่นจักรยานลงเขา หรือ ดาวน์ฮิลล์ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ท้าทาย ยิ่งลงชันมาก ยาวมากเท่าไรยิ่งมันเร้าใจเท่านั้น แต่การปั่นดาวน์ฮิลล์ก็อันตรายมากอยู่เหมือนกัน เพราะใช้ความเร็วสูง ตามแรงดึงดูดของโลก การจะปั่นให้ปลอดภัยต้องมีการถ่ายน้ำหนัก และการทรงตัวที่ดี นอกจากจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญควบคู่ไปด้วย




การปั่นลงทางไม่ชันมากนัก ไม่มีเทคนิคพิเศษอะไร นั่งในท่าปกติ ปล่อยจักรยานไหลลงมาตามทาง เพียงแต่ให้ระวังเรื่องของการเบรคทั้งล้อหน้า และหลัง โดยเฉพาะล้อหน้า อย่าเบรคจนล้อล๊อค คุณจะลอยตีลังกาข้ามแฮนด์ทันที ล้อหลังก็เช่นกัน ถ้าคุณเบรคจนล้อล๊อคตายรถจะเป๋ แล้วปัดออก เสียการควบคุมซึ่งเป็นอันตรายได้ ถ้าต้องเบรคจริงๆ อย่าเบรคกระทันหัน อย่ากดเบรคแรงๆ ให้เบรคแล้วปล่อย เบรคแล้วปล่อย อย่าบีบมือ เบรคลากยาวตลอด เพราะผ้าเบรคจะไหม้ และเกิดการสึกหรอมากกว่าปกติ
ทางลงเขาชันมากๆ ถ้าต้องขี่ลงเขาชันมากจริงๆ ให้ลงเดินดูทางที่จะผ่านไปว่ามีอุปสรรคอะไรบ้าง พยายามมองหาเส้นทางที่คิดว่าราบเรียบที่สุด โดยที่ไม่มีหินหรือร่องน้ำที่เป็นอุปสรรคในระหว่างทาง ก่อนที่จะขี่ลงให้ปรับเบาะนั่งให้ลดต่ำลงมากที่สุด และในตอนขี่ลงเนินชัน ให้ถอยออกมาจากจุดที่จะดิ่งลงสัก 3-4 เมตร เพื่อจะได้ทรงตัวได้อย่างมั่นคงขึ้น อย่าเริ่มขี่ลงตรงหัวทางชันซึ่งอันตรายมาก มันจะควบคุม และทรงตัวได้ลำบาก

ยังงัยก็ลองเอาไปฝึกฝนกันดูนะครับ ทำให้ฝีมือการปั่นยกระดับขึ้นได้อีก

แบ่งปันข้อมูลจาก http://www.padangcamp.com/

ลีลาการโลดโผน กะ MTB คันโปรดของเจ้าหนุ่มคนนี้


อย่าลอกเลียนแบบนะครับ อันตรายมากๆ ยังงัยก็ต้องฝึกฝนก่อนถึงจะได้ขนาดนี้ ดูเอามันพอครับ

การวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยาน

มีผู้ขี่จักรยานและนักกีฬาจักรยานหลายคนที่ขี่จักรยานแล้วไม่ประทับใจ เช่น ปวดก้น ปวดขา ปวดแขน เมื่อยหลัง เป็นตะคริว ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเกิดขึ้นเพราะเราขาดการเรียนรู้ในเทคนิคทักษะของการวางตำแหน่งของร่างกาย กล่าวคือขณะปั่นจักรยานจะมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 3 ที่ คือ1.การนั่งอาน ปกติจะนั่งเต็มก้นกันทุกๆคนก็จริง แต่ระดับของอานที่ถูกต้องจะต้องไม่เงยขึ้นหรือก้มลง อานจะต้องปรับให้ขนานกับพื้นเสมอ ทำให้การจัดตำแหน่งในการขี่จักรยาน(ทั้งนั่งและยืนปั่น)ทำได้ง่าย เช่น เวลาขี่ขึ้นเขาชัน:ให้เถิบก้นขึ้นไปด้านหน้าเพื่อเพิ่มแรงกดลูกบันได ถ้าขึ้นเขายาวๆ:ให้เลื่อนก้นเถิบมาอยู่ข้างหลัง เพื่อเพิ่มแรงดันลูกบันได ทางราบ:ขี่เร็วให้เถิบก้นเลื่อนมาข้างหน้า ขี่เสมอให้นั่งเต็มงอาน 2.การวางตำแหน่งของมือขณะขี่ ถ้าเป็นรถจักรยานธรรมดาก็เพียงแต่จับแฮนด์สะบายๆ แต่ถ้าเป็นรถเสือภูเขาควรจับที่ยางแฮนด์โดยใช้นิ้ว ชี้ และกลาง แตะมือเบรกเอาไว้ตลอดเวลาพร้อมที่จะเบรก หรือชะลอความเร็วเมื่อต้องเปลี่ยนทิศทาง หรือหลบหลีกเครื่องกีดขวางในเส้นทางที่ต้องขี่ผ่าน ส่วนเสือหมอบเราสามารถจะวางมือบนแฮนด์ได้หลายแบบ เช่น จับแฮนด์ด้านในสุด(Drop In ) จับบนแฮนด์ใกล้ๆคอแฮนด์ จับตรงยางมือเบรก และจับส่วนโค้งของแฮนด์ด้านบน เป็นต้น การวางตำแหน่งของมือบนแฮนด์ที่ถูกต้องเพื่อทำให้เกิดความสะบายในการขี่ ลดอาการเมื่อยล้าของแขน และลำตัว 3. การวางตำแหน่งของเท้า: เป็นเรื่องที่สำคัญมากถ้าวางตำแหน่งได้ไม่สมดุลจะทำให้แรงที่ปั่นจักรยานสูญเปล่าไบอย่างน่เสียดาย นักแข่งหลายคนติดคริ๊บใต้รองเท้าไม่เท่ากัน ทำให้การปั่นลูกบันไดไม่เป็นวงกลม ถ้ามองดูโซ่จะเห็นว่ามันวิ่งไม่เรียบ ในขณะที่บางคนติดคริ๊บสั้นหรือยาวเกินไป ถ้าติดสั้น จะทำให้ปวดข้อเท้าเวลาปั่นนานๆไกลๆเพราะข้อต่อข้อเท้าต้องทำงานหนักคือหมุนจำนวนรอบที่มากเกิน แต่ถ้าติดคริ๊บยาวเกินไป จะทำให้เมื่อยข้อเท้าเช่นกันและรอบขาที่ปั่นได้จะไม่เร็วเหมือนคนอื่น สมมุติว่าทุกคนติดคริ๊บพอดีกับขนาดของรองเท้าตนเอง การวางตำแหน่งของเท้าในการปั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือถ้าปั่นทางราบควรวางปลายเท้าและส้นเท้าเสมอกันขณะปั่นลูกบันได แต่ถ้าขึ้นเขาให้เชิดปลายเท้าขึ้นส้นเท้าต่ำลงขณะปั่น แต่สปริ้นท์ให้จิกปลายเท้าลงเสมอ สรุปว่า: การวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยาน เป็นเทคนิคทักษะที่เราชาวเสือจะต้องฝึก และทดลองทำดู ถึงจะค้นพบตำแหน่งที่หมาะสมของตนเองครับ โดยการปรับการนั่งอาน การวางมือและเท้า ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ของการขี่นั้นๆ การวางตำแหน่งของร่างกายที่ถูกต้องช่วยประหยัดแรง และทำให้เกิดความสมดุลในการปั่นทำให้ง่ายต่อการบังคับรถจักรยานของคุณครับ

ข้อมูลจาก http://www.bikeloves.com/

ปั่นจักรยาน ช่วยลดปวดหัวไมเกรน

ผลการศึกษาจากศูนย์โรคปวดหัว (Cephalea Headache Centre in Gothenburg) สวีเดนทำโดยให้กลุ่มตัวอย่างปั่นจักรยานอยู่กับที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ 3 เดือน
ผลการศึกษาพบว่า การปั่นจักรยานแรงปานกลาง (ปั่นเร็วจนพูดได้ 4–5 คำก็เริ่มเหนื่อย นาน 30 นาที) เป็นประจำทำให้อาการปวดหัวไมเกรนลงไปได้มากจนถึง (up to) 90%
โรคปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่จะปวดข้างเดียว ปวดตุ๊บ ๆ อาจมีอาการคลื่นไส้-อาเจียนร่วมด้วย คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งมีอาการทุเลาลงด้วยยาพาราเซตามอล อีกครึ่งหนึ่งไม่ทุเลาด้วยยาดังกล่าว
คนไข้เกือบทุกรายกล่าวว่า อาการปวดลดลงทั้งความถี่ คือ จำนวนวันที่ปวดลดลง ความรุนแรง (จากหนักเป็นเบา) และการใช้ยาแก้ปวดก็น้อยลง
กลไกที่เป็นไปได้คือ การออกแรง-ออกกำลังทำให้เกิดการหลั่งสารความสุขที่ชื่อ ”เอนดอร์ฟินส์ (endorphins)” ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การออกกำลังกาย เช่น เดิน ว่ายน้ำ ฯลฯ มีส่วนช่วยลดอาการปวดหัวได้เช่นกัน
เรื่องที่สำคัญมากพอ ๆ กัน คือ การออกแรง-ออกกำลังไม่ได้ส่งดีกับหัวใจและปอดเท่านั้น ทว่า... ดีไปทั่วเรือนร่าง โดยเฉพาะสมองดีด้วย
การศึกษาอีกรายงานหนึ่งจากสหรัฐฯ ทำในคนสุขภาพดี 52 คน นำไปตรวจด้วยเครื่องสแกนสมองพบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำมากที่สุดมีสมองส่วนนอกกลีบข้าง (ใกล้ ๆ ขมับ-ใบหู / temporal lobe) ฝ่อลง (ตามอายุ) ช้ากว่าคนที่ออกแรง-ออกกำลังน้อยที่สุด
การศึกษานี้สนับสนุนแนวคิดเดียวกับการศึกษาอื่น ๆ คือ การออกแรง-ออกกำลังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเซลล์สมอง
ตัวอย่างของการออกแรง-ออกกำลังง่าย ๆ ที่เผาผลาญกำลังงานได้ 200 แคลอรีเท่า ๆ กันได้แก่
ทำสวน 31 นาที
ซ่อมแซมอุปกรณ์ของใช้ในบ้าน (DIY) 40 นาที
ล้างรถ 44 นาที
รีดผ้า 79 นาที
ดูดฝุ่น 66 นาที

ข้อมูลจาก healthy.in.th/categories/healthful/news/271

เมื่อเลิกขี่จักรยาน ให้ใส่เกียร์ว่าง


เมื่อเลิกขี่จักรยานแล้ว ก่อนจอด ควรยิงนิ้วชี้ที่ Shifter ทั้งซ้ายขวาจนหมดปั่นเบาๆต่ออีกนิดเพื่อให้ทุกเกียร์เข้าที่แล้วค่อยจอด ณ ตำแหน่งเกียร์นี้ โซ่จะคล้องอยู่ระหว่างจานเล็กสุดกับเฟืองเล็กสุด (1-8 หรือ 1-9) ตีนผีจะอยู่ในตำแหน่งที่พับเก็บเรียบร้อยไม่กางออก ประโยชน์- ลดความตึง (Tension) ของลวด (Cable) ที่ควบคุมสับจานหน้า และตีนผี- ลดความตึง (Stress) ของสปริงในตีนผีและสับจานก่อนเดินจากไป ให้เหลียวมาดูด้วยว่าแม่เหล็กที่ติดอยู่ที่ซี่ลวด บังเอิญมาจ่ออยู่ที่ Sensor ของไมล์วัดความเร็วหรือไม่ ถ้าใช่ ให้หมุนล้อหน้าเพื่อย้ายตำแหน่งแม่เหล็กให้ไกลออกไปจาก Sensor สาเหตุเพราะ แม่เหล็กถาวรที่ติดซี่ลวดนั้น สามารถเหนี่ยวนำให้ความเป็นแม่เหล็ก(Polarity) ของ Sensor เบี่ยงเบนไป ซึ่งอาจทำให้ความไว (Sensitivity) ของ Sensorลดลง (อันนี้ไม่ยืนยันในทฤษฏีนะครับ แต่ทำเพื่อความสบายใจ)เพียงเท่านี้ จักรยานของคุณก็จะได้พักผ่อนไปพร้อมกับคุณ อ้อ อย่าลืม เวลากลับมาขี่อีกครั้ง ให้เปลี่ยนเกียร์มาเป็นเกียร์ขี่ปกติ อย่าได้ขี่ในตำแหน่งเกียร์ที่โซ่ไขว้กันแบบนี้เด็ดขาด ระบบส่งกำลัง (Drivetrain) จะสึกหรอเร็วกว่าปกติ

6 วิธีในการฝึกขี่ สำหรับมือใหม่


6 วิธีในการฝึกขี่ สำหรับมือใหม่


1. หัดขี่เป็นวงกลมสลับไปมาเป็นรูปเลข 8 พยายามให้รัสมีวงกลมเล็กที่สุดเท่าที่ จะทำได้ โดยค่อยๆหัดจากวงกลมใหญ่ๆก่อนนะครับ จะทำให้เราสามารถเข้าโค้งที่ แคบๆ ยากๆได้


2. ฝึกเบรค โดยการขีดเส้นบนพื้น สมมุติว่าเป็นจุดที่ต้องหยุด ให้ขี่มาแล้วพยายาม ใช้เบรคหยุดรถที่เส้นให้ได้ ห้ามเลย และเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ และหัดกระจายการ เบรคทั้งเบรคหน้า และเบรคหลัง


3. ฝึกหยุดทรงตัวและไปต่อ โดยการขีดเส้นสมมุติบนพื้น ให้ขี่รถตรงมายังเส้นแล้ว เบรคหยุดรถ โดยไม่เอาขาลงพื้น แล้วปล่อยเบรคออกรถไปต่อ ช่วงเวลาที่หยุดพยา ยามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็น 5 วิ 10 วิ และเปลี่ยนจากทางราบเป็นทางลาด ทำอย่าง เดียวกันทั้ง uphill และ Downhill


4. ข้ามสิ่งกีดขวาง ให้หาหินหรือท่อนไม้ขนาดเล็กๆมา คิดว่าท่อนไม้น่าจะดีกว่านะครับ สูงซัก 3 นิ้วก่อนวางขวางไว้ แล้วขี่รถช้าๆไปที่ท่อนไม้ ถ่ายน้ำหนักมาด้านหลังเล็กน้อย ให้ล้อหน้าชนแล้วข้ามไป ถ่ายน้ำหนักมาข้างหน้าอีกเล็กน้อย ให้ล้อหลังปีนข้ามไป จะได้ หัดการถ่ายน้ำหนักเล็กๆ และหัดข้ามอุปสรรค สิ่งกีดขวาง ให้เพิ่มความสูงถ้าชำนาญมาก ขึ้น * ไม่ให้กระโดดข้ามนะครับ ผิดวัตถุประสงค์


5. หัดลงพื้นต่างระดับ ง่ายสุดคือหัดลงจากฟุตบาทล่ะครับ โดยถ่ายน้ำหนักมาข้างหลังแล้ว หย่อนล้อหน้าลงไป แล้วรีบถ่ายน้ำหนักมาหน้าหย่อนล้อหลังลงมา ** ใครทำได้ จะมีการลงจากหินที่สนาม pattaya ครับ สนุกดี


6. หัดปล่อยมือขณะขี่ โดยการขี่ในพื้นราบ ช้าๆ แล้วปล่อยมืออกมา 1 ข้างเพื่อหยิบกระ ป๋องน้ำ หยิบ PowerBar ออกมาแทะ หรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยที่ขายังคงปั่นต่อไปเรื่อยๆ ให้หัดทั้งทางราบ และ Uphill แต่ห้าม !!! ทำตอน downhill ครับ


ผู้ที่เริ่มขี่ให้หัด 6 วิธีนี้ครับ เพื่อเป็นพื้นฐานในการขี่ครับ from MBA/february 1999, 6 riding drills for the beginner.

ประโยชน์รองเท้าและถุงเท้า

เด็กไทยในชนบทขี่จักรยานไม่ใส่รองเท้านี่สบายบรื๋อ ซึ่งก็ทำได้แน่ๆ แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรใส่รองเท้าตอนออกไปขี่จักรยาน เพราะถ้าเกิดล้มมา รองเท้าก็ช่วยให้ไม่ถลอกได้ และรองเท้าที่ใช้ก็ควรเป็นรองเท้าผ้าใบหุ้มส้น ไม่ควรใช้รองเท้าแตะหรือรองเท้าสาน เพราะไม่กระชับเท้าและอาจไปเกี่ยวกับอะไรได้ ยกเว้นจะไปแค่ปากซอยซื้อก๋วยเตี๋ยวหรือบะหมี่กินเล่น
ถ้าลงแข่งหรือออกทัวร์ขี่จักรยานไปไกลๆ ก็ควรใส่รองเท้าจักรยาน (ถ้ามีตังค์ซื้อด้วยนะ) เพราะรองเท้าแบบนี้มีข้อดีข้อเด่นอยู่หลายอย่าง เช่น

1. พื้นแข็ง พื้นรองเท้าแตะหรือรองเท้าผ้าใบจะนิ่ม และอ่อนตัวได้ง่าย ทำให้เท้าของเราบิดตัวตามไปด้วยเวลาปั่นบันได ซึ่งทำให้เกิดการล้าของเท้าได้ง่าย แต่ถ้าพื้นรองเท้าแข็งๆ จะทำให้เท้าสบายขึ้น และการส่งถ่ายพลังจากขาไปที่ลูกบันไดก็ทำได้เต็มที่ ไม่สูญเสียตกหล่นไปแบบพื้นนุ่มๆ
2. เหมาะและฟิต ถ้าคุณขี่จักรยานใช้ได้แล้ว คุณก็จะใช้กิ๊บ(บางคนเรียกนะกร้อ แต่ศัพท์นักจักรยานรุ่นเก่าของแท้เขาเรียก “กิ๊บ” กันครับ) ซึ่งถ้าใส่รองเท้าจักรยานคุณก็จะใส่กิ๊บได้ง่ายขึ้น และวางบนบันไดซึ่งมักมีขนาดเล็ก (ถ้าแพงๆ)ได้ง่ายขึ้น และรองเท้าจักรยานนี่เขาออกแบบมาให้ไว้ขี่จักรยานไกลๆโดยเฉพาะ เขาจึงรู้ใจนักจักรยานดี จะมีบุนวมตรงจุดที่ควรบุ โดยไม่เพิ่มน้ำหนักรองเท้า ทำให้นิ้วเท้าไม่เจ็บไม่ชา หรือชาช้า และไม่ถูกสายกิ๊บกดจนเจ็บ
3. จับมั่น การใส่รองเท้าจักรยาน ใส่กิ๊บ รัดเข็มขัดกิ๊บ จะทำให้เท้าเราจับมั่นกับลูกบันได การปั่นขาไปแต่ละรอบจึงทำได้มั่นคงและอย่างมั่นใจ ทำให้ไปได้เร็วขึ้น และเสียแรงร้อยลง
ตามตำราเขาว่าการใช้รองเท้าจักรยานและติดกิ๊บสามารถถ่ายแรงลงลูกบันไดได้จนเกือบครบรอบของการปั่น คือจาก 2 นาฬิกา ไปจนถึง 9 นาฬิกา


ถ้าใส่รองเท้าก็ควรใส่ถุงเท้าด้วย ไม่เช่นนั้น อาจถูกรองเท้ากัด และถ้าถูกรองเท้ากัดระหว่างทางนะคุณเอ๋ย อย่าบอกใครเชียวว่าทรมานขนาดไหน จะหยุดก็หยุดไม่ได้เพราะยังไม่ถึงที่พัก จะไปก็ไปไม่ค่อยไหว เพราะเจ็บเหลือใจ เพราะฉะนั้นต้องใส่ถุงเท้า และถุงเท้านั้นควรฟิตเท้าอย่างดีและพอดี จะทำให้สบายเท้าขึ้นมาก
เดี๋ยวนี้มีถุงเท้าทำจากใยสังเคราะห์รุ่นใหม่ๆ ทำให้แห้งง่าย ไม่อุ้มเหงื่อ ถุงเท้าจักรยานมักหุ้มเท้าเกินตาตุ่มไม่มาก เพราะฝรั่งเขาชอบโดนแดด จะได้มีผิวสีน้ำตาล (เขาว่าสวยดี) เขาจึงอยากให้โดนแดดมากที่สุดเท่าที่จะเปิดเผยร่างการสู่แดดได้ และถุงเท้าจักรยานถ้าสั้นๆก็จะได้ไม่ต้านลมมากด้วย พวกนักแข่งจะระวังมากในเรื่องแบบนี้

รวมภาพ Car Free Day 2009 พิษณุโลก




รวมภาพ Car Free Day 2009 พิษณุโลก